เริ่มแล้ว! เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 หรือ ค.2 สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 วันที่ 8-31 ตุลาคมนี้ ที่ลำปาง

 

พื้นที่ต่อจากนี้ เราจะพูดถึงโครงการสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 (Mae Moh Power Plant unit 8-9 Replacement Project: MMRP2 ) ของ กฟผ.แม่เมาะ .ลำปาง กันแบบเต็มๆ โดยโครงการนี้เริ่มต้นเนื่องจาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8-9 เดิมซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ใช้ถ่านลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิง มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 600 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จะถูกปลดออกจากระบบในปี .. 2565

 

โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

 

เรียกได้ว่า เป็นโรงไฟฟ้าที่เก่าแก่ยาวนานกำลังจะหมดอายุการใช้งานลง จึงมีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 เพื่อรักษาระดับกำลังผลิตและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคเหนือ รวมถึงรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ .. 2561-2580 (PDP2018) นั่นเอง

ถึงแม้จะเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และพวกเราทุกคนจะได้มีไฟฟ้าใช้กันอย่างยาวนาน แต่ไม่ใช่ว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ กฟผ.แม่เมาะ คิดอยากจะสร้างก็สร้างได้เลยทันที เนื่องจากเป็นโครงการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม EHIA ตามข้อกำหนดของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

 

ป้ายแสดงข้อมูลโครงการสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9

 

โดยทาง กฟผ.ไม่มีสิทธิ์จัดทำรายงานเอง ตามกฎหมายแล้วต้องจ้างคนกลางที่เป็นบริษัทชั้นนำที่ได้รับการรับรองการทำ EHIA มาเป็นที่ปรึกษาดำเนินการศึกษา และจัดทำรายงานประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพให้เป็นไปอย่างรอบด้าน ซึ่งครั้งนี้ทาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จ้าง บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด ให้รับหน้าที่บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ นี้

 

ที่ปรึกษาโครงการฯ งานที่ต้องเก็บทุกเม็ด!

เมื่อพูดถึงบทบาทของบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ แล้ว ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่พวกเขาต้องทำก็คือ รวบรวมทุกข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปกำหนดกรอบและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้ครอบคลุมทุกข้อ บันทึกทุกข้อห่วงกังวลต่อการดำเนินโครงการฯ เพื่อให้การศึกษาและจัดทำรายงาน EHIA เป็นไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ผ่านความคิดเห็นของประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง

โดยเมื่อทางบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ รับฟังปัญหาจากประชาชนและผู้ที่มีส่วนได้เสียครบถ้วนแล้ว จะส่งรายงานขอความเห็นจากคณะกรรมการ ผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโรงไฟฟ้าพลังความร้อน พิจารณาให้ความเห็นชอบประกอบ ก่อนจะนำเสนอโครงการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ความเห็นชอบอีกครั้ง แล้วนำรายงานทั้งหมดไปยื่นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อลงมติตัดสินอนุมัติหรือไม่อนุมัติโครงการฯ ดังกล่าว

 

เปิดเวที MMRP .1 ผ่านฉลุย

ดังนั้นทั้ง กฟผ.แม่เมาะ และ บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ  จึงได้มีการร่วมกันจัดเวทีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและมีผู้มีส่วนได้เสีย ในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกันถึง 3 ครั้ง เอาให้ตกผลึกทางความคิดกันเลยทีเดียว ซึ่งครั้งที่ 1 หรือ .1 เวทีรับฟังความคิดเห็นประชุมประชาพิจารณ์ของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน ได้จัดไปแล้วเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2562 วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ .แม่เมาะ .ลำปาง ตามที่เคยออกสื่อมาแล้ว

 

 

สำหรับ .1 ถือว่าผ่านไปได้ด้วยดี โดยได้เปิดพื้นที่ให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย จาก 7 กลุ่ม เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ประกอบด้วย กลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ใกล้เคียงโครงการฯ รัศมี 5 กมกลุ่มหน่วยงานรับผิดชอบศึกษาและพิจารณารายงาน EHIA, กลุ่มหน่วยงานภาคราชการ, กลุ่มหน่วยงานด้านสาธารณสุขและการแพทย์, กลุ่มองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สถานศึกษา ศาสนสถาน นักวิชาการอิสระ, กลุ่มสื่อมวลชน และกลุ่มประชาชนทั่วไป

 

เวที EHIA ครั้งที่ 1 ของโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9 

วันนั้นชาวแม่เมาะและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอความคิดเห็น เกือบ 3,000 คน และร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยวาจา 48 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนในพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ .สบป้าด .จางเหนือ .นาสัก .บ้านดง และ .แม่เมาะ รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประชาชนทั่วไป ซึ่งในการแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ได้ใช้เวลานานกว่า 6 ชั่วโมง สะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินโครงการฯ อย่างจริงจัง

 

เดินหน้า MMRP2 .2 รับฟังความคิดเห็น ใกล้ชิดชุมชนยิ่งขึ้น!

จัดได้ว่าเป็นการทำงานอย่างต่อเนื่อง เมื่อ กฟผ.แม่เมาะ ร่วมกับ บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ เป็นครั้งที่ 2 หรือ .2 ระหว่างวันที่ 8-31 ตุลาคม 2562

 

 

โดยครั้งนี้เป็นการเซอร์เวย์ลงพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิด โดยมี ดร.เบญจภรณ์ บุณยพุกกณะ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดโครงการแนวทางการประเมิน และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (ค.2)

 

ดร.เบญจภรณ์ บุณยพุกกณะ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม รับหน้าที่เป็นผู้ชี้แจงข้อมูลในครั้งนี้

 

ระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา บรรยากาศในการรับฟังความคิดเห็นฯ เป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟัง ถึง 1,829 คน และ มีผู้แสดงความคิดเห็น 77 คน รายละเอียดจำนวนผู้เข้ารับฟังความคิดเห็นฯ แต่ละตำบลและแต่ละหน่วยงานมีดังนี้

 

วันที่ 8 ตุลาคม 2562 

เวทีแรก! ประชาชน ตำบลบ้านดง รวมพลังรอเข้าร่วมเวทีแสดงความคิดเห็นกันตั้งแต่เช้าจนล้นห้องประชุม
  • ตำบลบ้านดง มีประชาชนสนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวน 230 คน มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน  12 คน

 

ประชาชน ตำบลสบป้าด ไม่น้อยหน้า ให้ความสนใจกับเวที ค.2 และขอพื้นที่แสดงความคิดเห็นกันอย่างคึกคัก
  • ตำบลสบป้าด มีประชาชนสนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวน 600 คน มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 14 คน

 

วันที่ 9 ตุลาคม 2562

ประชาชน ตำบลจางเหนือ ต่างมีข้อแนะนำที่น่าสนใจ พร้อมสนับสนุนโครงการฯ ให้ก้าวไปข้างหน้า
  • ตำบลจางเหนือ มีประชาชนสนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวน 190 คน มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 11 คน

 

ประชาชน ตำบลนาสัก เกาะติดสถานการณ์ ค.1 และ ค.2 ไม่พลาดที่ขอร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวทีกันอีกครั้ง  

  • ตำบลนาสัก มีประชาชนสนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวน 239 คน มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน15 คน

 

วันที่ 10 ตุลาคม 2562

หน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายสุขภาพ กลุ่มสาธารณสุข ร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที ค.2 นี้ด้วย
  • หน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายสุขภาพ กลุ่มสาธารณสุข  มีผู้เข้าร่วมรับฟังจำนวน 90 คน และมีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 9 คน

 

ไม่ไปไม่ได้ ประชาชนตำบลแม่เมาะ ตบเท้ากันเข้ามาร่วมเวทีแสดงความคิดเห็น ค.2 กันคับคั่งเช่นกัน
  • ตำบลแม่เมาะ มีประชาชนสนใจ เข้าร่วมรับฟังจำนวน 480  คน มีผู้แสดงความคิดเห็นจำนวน 16  คน

 

สรุป 3 ประเด็นฮอตในเวทีรับฟัง ค.2

จากที่ผู้เขียนเองได้ลงพื้น ได้เข้าร่วมฟังการแสดงความคิดเห็นในเวที .2 ครั้งนี้ ทำให้ได้ทราบทุกประเด็นข้อเสนอแนะของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละตำบล และเห็นว่าทางบริษัท ทีแอลทีฯ ได้จดบันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ เพื่อนำไปดำเนินการศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอีกครั้ง จึงขอสรุป 3 ประเด็นหลักที่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 5 ตำบล ต้องการกันมากที่สุดมาให้ได้ทราบกัน ดังนี้

1.ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย 5 ตำบลในพื้นที่ .แม่เมาะ อยากให้ กฟผ. รับคนในพื้นที่แม่เมาะ เข้ามาทำงาน เช่น เด็กที่เรียนจบระดับ ปวส. และ ปริญาตรี ตลอดจนแรงงาน เข้ามาทำงานที่ กฟผ.แม่เมาะ ให้มากขึ้น เพราะทุกวันนี้คนที่ทำงานที่ กฟผ.แม่เมาะ สัดส่วนเป็นคนต่างถิ่นมากกว่าคนแม่เมาะ

2.ให้ กฟผ. พิจารณาการจัดตั้งกองทุนต่างๆ เพื่อเยียวยาให้ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ นอกเหนือจากงบประมาณกองทุนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ รวมทั้งงบประมาณตำบลละ 5 ล้านที่ กฟผ.แม่เมาะ มอบให้แต่ละตำบลในพื้นที่ .แม่เมาะ ขอให้ลดหลักเกณฑ์และข้อกำหนดเพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

3.เรื่องน้ำสาธารณูปโภค และการเกษตร รวมถึงถนน ชาวบ้านต้องการให้ กฟผ.แม่เมาะ เข้ามาดูแลและสนับสนุน ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลอยู่แล้ว แต่หาก กฟผ.แม่เมาะ เข้าไปดูเพิ่มจากส่วนตรงนั้น จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่แม่เมาะดีขึ้นมากกว่าเดิม

นี่คือข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนทั้งหมดในเวที .2 และหลังจากการจัดรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 นี้หมดลง บริษัทที่ปรึกษาจะนำประเด็นต่างๆ นำเสนอต่อ กฟผ. เพื่อประเมินและหาแนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ก่อนนำไปบรรจุในรายงานหรือกำหนดเป็นมาตรการในการปฏิบัติต่อไปครับ

 

 

รายงานโดย: ทีมข่าวเกือกม้าดอทคอม