KVwLYdDrByo

สำนักงานชลประทานที่ 2 เป็นหน่วยงานสังกัดกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย, 4 ส่วน, 1 โครงการก่อสร้าง, 3 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา,  4 โครงการชลประทานจังหวัด, 1 โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1.ฝ่ายบริหารทั่วไป, 2. ส่วนแผนงาน, 3. ส่วนวิศวกรรม, 4. ส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา, 5. ส่วนเครื่องจักรกล, 6. โครงการก่อสร้างสำนักงานชลประทานที่ 2, 7. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา, 8. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่วัง, 9. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาว, 10. โครงการชลประทานลำปาง, 11. โครงการชลประทานพะเยา, 12. โครงการชลประทานเชียงราย, 13. โครงการชลประทานน่าน, 14. โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

หน้าที่หลักของสำนักงานชลประทานที่ 2  ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2557 คือ

1.บริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ  การเกษตรกรรม การสาธารณูปโภค การอุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การพลังงาน และการรักษาระบบนิเวศน์  2.พัฒนาแหล่งขนาดเล็ก โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่นตามพื้นที่ลุ่มน้ำที่กรมชลประทานมอบหมาย 3. วางแผน ควบคุม และประเมินผลการบริหารจัดการน้ำ  4.ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับงานชลประทาน และดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบ 5.ให้คำปรึกษาในการบำรุงรักษาอาคารชลประทานและภารกิจที่ถ่ายโอน  6.ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ  7.ศึกษา จัดทำรายงานเบื้องต้น สำรวจและออกแบบโครงการชลประทานขนาดเล็กและโครงการอื่นตามพื้นที่ลุ่มน้ำตามที่กรมชลประทานมอบหมาย 8.ควบคุมและกำกับดูแกการใช้ที่ราชพัสดุ  และการบริหารสินทรัพย์  ที่ราชพัสดุในส่วนที่กรมชลประทานรับผิดชอบ 9.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและพัฒนาเสริมสร้างองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานให้มีความเข้มแข็ง 10.บูรณาการแผนงานและยุทธศาสตรร่วมกับจังหวัดและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  11.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักงานชลประทานที่ 2 ได้ขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยุทธศาสตร์กรม ตามแนวทาง RID NO.1 (อ่านว่า อาร์ไอดี นัมเบอร์วัน)พร้อมเดินหน้าพัฒนาสู่ยุค 4.0 เพื่อความสุขของเกษตรอย่างทั่วถึง

  1. เร่งรัดการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ในความดูแลของสำนักงานชลประทานที่ 2 จำนวน 427 โครงการ โดยดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 393 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 14 โครงการ และยังอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมอีก 20 โครงการ
  2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนงานและงบประมาณทั้งระบบ โดยปรับปรุงข้อมูลแผนงานให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมาย และตามวัตถุประสงค์
  3. เร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานอย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินการโครงการชลประทานขนาดกลางและขนาดเล็กจนถึงปี 2561 มีพื้นที่ชลประทานทั้งสิ้น 1,048,297 ไร่ และปี 2562-2569 มีแผนเพิ่มพื้นที่สำหรับโครงการชลประทานขนาดกลาง 579,740 ไร่ และโครงการชลประทานขนาดเล็ก 1,497,665 ไร่ รวมแผนเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 2,077,405 ไร่
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ โดยติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำและแหล่งเก็บกัก นำมาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อวางแผนจัดเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มฤดู ระหว่างฤดู และสิ้นสุดฤดู และบริหารการจัดการน้ำตามเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด

4.1 ตรวจสอบอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ปิดป้ายการตรวจสอบพร้อมรายชื่อผู้ที่ติดต่อ อาคารชลประทานใน สชป.2 มีทั้งหมด 10,174 แห่ง อาคารพร้อมใช้งาน 9,906 แห่ง อยู่ระหว่างปรับปรุงซ่อมแซม จำนวน 268 แห่ง

4.2 ตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เป็นประจำทุกปี พร้อมติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อนที่ยังไม่เคยติดตั้งมาก่อนจำนวน 4 เขื่อน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ จังหวัดพะเยา อ่างเก็บน้ำแม่พริก (ผาวิ่งชู้) จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำห้วยช้าง จังหวัดเชียงราย และอ่างเก็บน้ำแม่แก่ง จังหวัดลำปาง และที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติมจำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง และอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ จังหวัดพะเยา

  1. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน มีการจัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการน้ำชลประทานแล้วทั้งสิ้น 83 กลุ่ม คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) จัดตั้งแล้วจำนวน 10 กลุ่ม อยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 1 กลุ่ม และอาสาสมัครชลประทาน รวม 196 คน
  2. นำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยปรับปรุงข้อมูลด้านต่างๆ ให้เป็นสภาพปัจจุบัน ใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ จำลอง คาดการณ์ เพื่อประกอบการตัดสินใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น
  3. ดำเนินการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ รับสมัครเกษตรกรในโครงการทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมทั้งส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ สามารถให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้จะมุ่งวิสัยทัศน์ของกรมชลประทานว่า “องค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการภายในปี 2579” แต่เป้าหมายการดำเนินงานสุดท้าย คือ มุ่งบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป