QztOwv42THk

จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ประมาณ 7,833,726 ไร่ แบ่งเป็น 13 อำเภอ มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 1,690,953 ไร่ มีลุ่มน้ำสำคัญ 2 ลุ่มน้ำได้แก่ ลุ่มน้ำวัง และลุ่มน้ำยม มีแม่วังเป็นแม่น้ำสายหลักมีความยาวตามลำน้ำประมาณ 460 กิโลเมตร
โครงการชลประทานลำปาง ได้ดำเนินการก่อตั้งแต่ ปีพ.ศ.2527 เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 2 มีบทบาทหน้าที่ ดังนี้

1. วางแผนและควบคุมการดำเนินการด้านส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงการชลประทานขนาดกลาง โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพิเศษที่ได้รับมอบหมาย

2. ประสานงานกับส่วนราชการอื่นๆเพื่อเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำ การส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องและ การมีส่วนร่วมของเกษตรกร การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วม

3. จัดทำและรวบรวมสถิติ ข้อมูลน้ำฝน น้ำท่า ปริมาณน้ำที่ส่งเข้าพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตในเขตชลประทาน

4. วางแผนก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า และวางแผนการใช้เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่

5. เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายงบประมาณของกรมประทานในจังหวัดลำปาง และปฏิบัติงานอื่นๆตามที่รับมอบหมาย โดยแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 1 งาน 8 ฝ่าย

แหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดลำปาง ที่ก่อสร้างโดยกรมชลประทาน มีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โครงการเขื่อนกิ่วลม และโครงการเขื่อนกิ่วคอหมา โครงการชลประทานขนาดกลางจำนวน 29 แห่ง และโครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน 252 แห่ง มีปริมาณน้ำต้นทุนในปัจจุบันเมื่อรวมอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กของกรมชลประทานสามารถเก็บกักได้กว่า 614 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรวมปีละ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ความต้องการใช้น้ำของจังหวัดลำปางมีสูงถึง 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หากจะให้มีความมั่นคงจะต้องจัดหาปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มอีก 620 ล้านลูกบาศก์เมตร

ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในจังหวัดลำปาง เกิดจากสภาพทางกายภาพในลุ่มน้ำวัง ป่าต้นน้ำ ถูกทำลาย ขาดแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน และการเพิ่มขึ้นของประชากร การขยายตัวของชุมชน รวมทั้งความเสี่ยมโทรมของสภาพต้นน้ำลำธาร การเกิดอุทกภัยในพื้นราบลุ่มสองริมฝั่งแม่น้ำวังเนื่องจากสภาพคลองเป็นคอขวดของลำน้ำ ทำให้การระบายน้ำในฤดูฝนทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรและ มักเป็นปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง อีกทั้งมีลักษณะคดเคี้ยวไปมาทำให้ในฤดูฝนเมื่อมีน้ำไหลบ่าอย่างแรงมักเกิดอุทกภัย/ในช่วงฤดูแล้งน้ำในลำน้ำสาขาแม่น้ำวังมีปริมาณน้อย จึงมักเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นประจำทุกปี

การแก้ไขปัญหา มีแผนป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง โดยใช้มาตรการด้านก่อสร้าง พัฒนาแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำตามแผนงานโครงการระยะเร่งด่วน ระยะยาว หรือแผน MTEF ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 สามารถสรุปเป็นภาพรวมแผนงานโครงการงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 ดังนี้แผนงานโครงการลุ่มน้ำวัง จำนวน 22 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 96,950 ไร่ ความจุเพิ่ม 106.210 ล้านลูกบาศก์เมตรแผนงานโครงการลุ่มน้ำยม จำนวน 12 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 43,650 ไร่ ความจุเพิ่ม 48.598 ล้านลูกบาศก์เมตร

มาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง/โดยมีโครงการสำคัญที่กรมชลประทานเร่งดำเนินการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นโครงการขนาดกลาง จำนวน 2 โครงการ คือ
1. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่นึง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอเมืองปาน
2. โครงการอ่างเก็บน้ำแม่อ้อน 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภองาว

และอยู่ในแผนงานก่อสร้าง จำนวน 3 โครงการได้แก่ ประตูระบายน้ำบ้านวังยาว อำเภอสบปราบ อ่างเก็บน้ำแม่ตีบ อำเภอแม่เมาะ และอ่างเก็บน้ำห้วยโป่งผาก อำเภอเถิน และได้ดำเนินการขุดลอกอ่างจำนวน 2 แห่ง ตลอดการ กำจัดวัชพืชและผักตบชวาคลองส่งน้ำ

มาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง /การพื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยมีแผนการปลูกป่าและหญ้าแฝกในพื้นที่โครงการเปิดใหม่ที่ กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างและได้ดำเนินการปลูกป่าอย่างต่อเนื่องบริเวณหัวงาน อ่างเก็บน้ำต่างๆ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ3ข้าวนาปรังแต่ส่งเสริมการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยแทนเพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำและส่งผลกระทบภายหลัง ในช่วยฤดูแล้งหากอ่างเก็บน้ำใดมีปริมาณน้ำต่ำกว่า 30 % ของความจุอ่าง จะประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร กลุ่มผู้ใช้น้ำสำรองน้ำไว้เพื่อการอุปโภค-บริโภคเท่านั้น/ ในฤดูฝน ได้เฝ้าระวังติดตามปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กให้อยู่ในเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำของ อ่างเก็บน้ำ (Rule Curve)(อ่านว่ารูเคิป) โดยพิจารณาร่วมกับเส้น Dynamic Operation Rule Curve และเส้น Long-Term(อ่านว่าลองเทอม) มีการปรับแผนบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้น้ำทั่วถึงทุกกิจกรรม และไม่ส่งผลกระทบ Benchmark Curve (อ่านว่า เบนซ์มาร์ค ออกเสียง ch ตรงคำว่าเบนซ์นิดนึงครับ) พร้อมปรับการระบายน้ำให้เหมาะสม

โครงการชลประทานลำปาง เฝ้าติดตามและพยากรณ์สถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำและเตือนภัย มีการปรับแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำ การระบายน้ำ ได้จาก การประชาสัมพันธ์และการชี้แจงผ่านเวทีประชาคม และการสื่อสารผ่านระบบสารสนเทศ เช่น Website, Facebook , โครงการชลประทานลำปาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง