บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ยึดม่ันการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาอำชีพชุมชน เพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างย่ังยืน16 มกราคม 2563 : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จ ำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซี จี เน้นย้ำนโยบายยึดม่ันการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจต่อความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานด้านต่ำงๆ ทั้งการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูพื้นที่และอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ การบริหารจัดกา่รน้ำอย่างเป็นระบบในจังหวัดลำปาง สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ SCG Circular way ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตลอดจนต่อยอดสู่การ พัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ที่ม่ันคงอย่างย่ังยืนให้กับชุมชน นายวิสุทธ จงเจริญกิจ Managing Director บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด กล่าวว่า “นับตั้งแต่ก่อตั้งเม่ือ ปี พ.ศ. 2537 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ใส่ใจและให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของพ่ี่น้องในชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานมาโดยตลอด ด้วยความมุ่งม่ันท่ีต้องการให้ บริษัทฯ สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างย่ังยืน จะเห็นได้จากการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตั้งแต่การทำเหมืองท่ีใส่ใจสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม ตามแนวคิด “โรงงานอยู่ที่ไหน ป่าต้องเขียวที่น่ั่น” โดยแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างย่ังยืนของเอสซีจี และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มาปรับใช้ในกระบวนการ จัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดกฎหมาย รวมถึงมาตรฐานสากล เพ่ืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ใช้วิธีการทำเหมืองรูปแบบใหม่ เรียกว่า “Semi-Open Cut” ซ่ึงเป็นนวัตกรรมการออกแบบเหมืองท่ี่เอสซีจีพัฒนาขึ้น และนำไปใช้กับโรงงานปูนซีเมนต์ของเอสซีจีทุกแห่งท่ัวประเทศ โดย Semi-Open Cut เป็นเทคนิคการทำเหมืองจากภายใน และเว้นพื้นท่ี่สีเขียวหรือ Buffer Zone ไม่น้อยกว่า 40% จากพื้นท่ี่ท่ี่ได้รับสัมปทานทั้งหมด จึงสามารถป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชนทั้งด้าน ฝุ่น เสียง และแรงสั่นสะเทือนได้ อีกทั้งยังดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูพื้นที่  ที่ผ่านการทำเหมืองให้ยังคงทัศนียภาพตามเดิม ควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยร่วมมือกับองค์กรต่างๆ อาทิ ศูนย์วิจัย การฟื้นฟูป่า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กร มหาชน) หรือ BEDO, มูลนิธิสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (BEDO Foundation) และ Global Nature Fund (GNF) เพ่ือฟื้นฟูเหมืองอย่างเป็นระบบ พร้อมกับฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้เกิดความสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า คืนความสมดุลให้ระบบนิเวศอย่างยั่ยืน

นอกจากนี้ เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ของงานฟื้นฟูเหมืองและความหลากหลายทางชีวภาพ และเผยแพร่ ให้กับหน่วยงานและผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ เรียนรู้การฟื้นฟูเหมืองปูนลำปาง” โดยมีมัคคุเทศน์เยาวชน  จากโรงเรียนในบริเวณใกล้เคียง ที่เข้าร่วม “โครงการมัคคุเทศน์ช้างน้อย” และผ่านการเรียนรู้ด้านการทำเหมืองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของเหมืองปูนซิเมนต์ไทย (ลําปาง) มาช่วยถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เข้าเยี่ยมชม ซึ่งนับตั้งแต่เปิดศูนย์เรียนรู้ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2560 มีผู้เข้าเยี่ยมชมแล้วมากกว่า 3,000 คน

ในส่วนการบริหารจัดการน้ำ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ยังสานต่อโครงการ “รักษ์นํ้ำ จากภู ผำ สู่มหานที” ในพื้นที่ต้นน ้ำ  จังหวัดลำปาง เพื่อขยายผลการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ผ่านกระบวนการสร้างให้ชุมชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันอย่างแท้จริง วางแผนการทำงานร่วมกับชุมชน  เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2561 เอสซีจีได้ดำเนินกิจการด้านบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำที่ได้ร่วมกับชุมชน จิต อาสา ภาครัฐ และภาคเอกชน สร้างฝายชะลอน้ำ ฟื้นคืนความสมดุลกว่า 235,000 ไร่ โดยในปีนี้ตั้งเป้าขยายการสร้างฝายชะลอน้ำให้ครบ 100,000 ฝาย ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พื้นที่กลางน้ำสร้างสระพวง ทำให้ชุมชนมีน้ำใช้ทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีกว่า 245,460 ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 3,695 ไร่ และระบบแก้มลิงท่ีช่วยเก็บกักน้ำได้ถึง 9 ล้าน ลบ.ม. ช่วยให้พื้นที่การเกษตรได้รับประโยชน์กว่า 16,750 ไร่ สำหรับพื้นที่ปลายน้ำ ได้สนับสนุนปูนทนน้ำทะเลที่ทนซัลเฟตและคลอไรด์ได้นานกว่าปูนธรรมดา และท่อ PE100 ที่เป็นวัสดุเหลือใช้ จากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก ให้ชุมชนนำไปประกอบเป็นบ้านปลา เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ถือเป็นการคิดค้นนวัตกรรมที่หมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและ เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่ผ่านมาได้ร่วมกับชุมชนวางบ้านปลาซีเมนต์ไปแล้ว 810 หลัง

นอกจากการจัดการน้ำจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพแล้ว ยังนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนท่ีสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาอาชีพ และรวมกลุ่มก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน เช่น วิสาหกิจชุมชนบ้านแป้นใต้ กลุ่มตลาดวีมาร์เก็ต และกรีนมาร์เก็ตลำปาง  โดยความร่วมมือระหว่าง เอสซีจีและชุมชนในการจัดหลักสูตรวิสาหกิจและคุณธรรมชุมชนรักษ์น้ำ นำไปสู่ความม่ันคงด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือน

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2563 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ยังมีแผนดำเนินงานอีกหลายโครงการ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น งานป้องกันและควบคุมไฟป่า, ระบบเมืองนิเวศย่ังยืน (Eco City) 6 หมู่บ้าน ในตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง, การขยายการจัดการขยะจากระดับตำบลสู่ระดับอำเภอ (อำเภอแจ้ห่ม), การปลูกต้นไม้ 30 ไร่ ฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งได้ทำโครงการ Zero Burn โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย รวบรวมนำพืชชีวมวลจากภาคการเกษตร เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด กิ่งไม้ใบไม้ เป็นต้น มาเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาปูนซีเมนต์ ช่วยป้องกันและลดปัญหาหมอก ควัน (PM 2.5) ในพื้นท่ี