จากที่ การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย และ กฟผ.แม่เมาะ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 ตุลาคม 2562 ดำเนินการครบทั้ง 5 ตำบล ใน .แม่เมาะ โดยผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 5 ตำบลของ .แม่เมาะ และผู้สนใจ พร้อมใจรักษาสิทธิ์ เข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็นฯ ครั้งที่ 2 ไปแล้วนั้น

ขั้นตอนต่อไปได้มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผู้รับผิดชอบจัดทำรายงานฯ ต้องดำเนินการตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างน้อย 3 ครั้ง ทุกความเห็นจะถูกนำไปประเมินและหาแนวทางความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ก่อนนำไปบรรจุในรายงานหรือกำหนดเป็นมาตรการในการปฏิบัติสำหรับโครงการฯ

ในขั้นตอนการประเมินและจัดทำรายงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มอบหมายให้บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างรุนแรง (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8-9

สำหรับเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ครั้งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 (MMRP2) ในขั้นตอนการประเมินและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ กฟผ.แม่เมาะ และบริษัทที่ปรึกษา ได้มีการสรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสัมภาษณ์รายบุคคล กลุ่มผู้นำชุมชน ครัวเรือน สถาบันการศึกษา วัด หน่วยงานราชการ ออกมาแล้วดังนี้

สรุปผลการประชุมระดับตัวแทนกลุ่มที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสีย

1.

ประเด็น: ต้องการให้แม่เมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีถนนตัดผ่านเพื่อให้เป็นเมืองเปิด

ข้อชี้แจง: กฟผ. เห็นด้วยกับการให้แม่เมาะเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีถนนตัดผ่านเพื่อให้เป็นเมืองเปิด อย่างไรก็ตาม การตัดถนน/ทางหลวงแม่เมาะเชื่อมอำเภองาวและจังหวัดพะเยาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดย กฟผ. จะเสนอเรื่องไปยังกรมทางหลวง ต่อไป

2.

ประเด็น: ขอให้สนับสนุนงบประมาณในการสร้างถนนเชื่อมในหมู่บ้านและตำบล

ข้อชี้แจง:

  • ถนนเชื่อมระหว่างตำบลจะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท หรือ อบจ. ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ส่วนถนนภายหมู่บ้านอยู่ในความรับผิดชอบของ อบต. สำหรับ กฟผ. จะช่วยสนับสนุนโดยใช้งบประมาณด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชา เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนเป็นครั้งคราว หรือประชาชนสามารถเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วน
  • ส่วนเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่ กฟผ. จะดำเนินการได้ ดังนั้น กฟผ. จะนำเรื่องหารือในคณะกรรมการร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานและพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน กฟผ.แม่เมาะ ระดับอำเภอ เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน
3.

ประเด็น: การจัดตั้งกองทุนเถ้าลอยลิกไนต์

ข้อชี้แจง:

  • ในระยะดำเนินการที่มีการจำหน่ายเถ้าลอยลิกไนต์ กฟผ. จะบริจาคเงินเข้ากองทุนเถ้าลอยลิกไนต์ทุกปี ปีละไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินสูงสุดของกองทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท
  • การบริหารกองทุนเถ้าลอยลิกไนต์ดำเนินการโดยคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย 1) กฟผ. 2) หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และ 3) ตัวแทนภาคประชาชน
  • กองทุนที่จัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อซ่อมแซมถนนที่ใช้ในการขนส่งเถ้าลอยลิกไนต์ ในเขตอำเภอแม่เมาะ
    2)
    เยียวยาทันทีกรณีมีอุบัติเหตุจากการขนส่งเถ้าลอยลิกไนต์ ในเขตอำเภอแม่เมาะ และ 3) พัฒนาคุณภาพชีวิต
    ของประชาชนและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งเถ้าลอยลิกไนต์ ในเขตอำเภอแม่เมาะ
4.

ประเด็น: ขอให้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กที่มีฐานะยากจน/สนันสนุนวัสดุอุปกรณ์สำหรับการศึกษา/การจัดรถบริการรับส่งนักเรียน

ข้อชี้แจง: ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตามระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เปิดโอกาสให้ชุมชนในพื้นที่ประกาศฯ สามารถเสนอโครงการของชุมชนได้ โดยผ่านกระบวนการพิจารณาจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน และการกลั่นกรองของ คพรฟ. ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนดกองทุนพัฒนาไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ


5.

ประเด็น: ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า/การบริหารจัดการกองทุนฯ ไม่มีประสิทธิภาพ

ข้อชี้แจง:

  • กองทุนพัฒนาไฟฟ้าเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตาม ...ประกอบกิจการพลังงาน .. 2550 โดยการกำกับดูแลกองทุนผ่านคณะกรรมการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ให้เป็นไปตามที่ กกพ. กำหนด (มาตรา 95) โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญ ได้แก่
  • กำหนดหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพ
  • พิจารณาอนุมัติโครงการ
  • กำหนดหลักเกณฑ์การรับเงิน การจ่ายเงิน การตรวจสอบการใช้เงิน
  • นอกจากนี้ยังต้องประสานงานเพื่อร่างระเบียบต่าง ที่จำเป็น ในการดำเนินงานให้เกิดความเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
  • ตาม ... กำกับกิจการพลังงาน .. 2550 กฟผ. มีหน้าที่เป็นแค่ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมได้ อย่างไรก็ตาม ประชาชนสามารถยื่นข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะไปยัง กกพ. ได้
6.

ประเด็น: การจ้างงาน

ข้อชี้แจง: กฟผ. ได้กำหนดมาตรการให้บริษัทผู้รับเหมาจ้างคนงานที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่อำเภอแม่เมาะเป็นลำดับแรก ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ทั้งนี้ต้องขึ้นกับคุณสมบัติของตำแหน่งงานนั้น โดยบริษัทฯ ต้องประชาสัมพันธ์เรื่องการจ้างงานให้กับชุมชนทุกชุมชนได้รับทราบก่อน หากบริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องแจ้งให้ กฟผ. รับทราบต่อไป

  • กำหนดเป็นนโยบายปฏิบัติให้พิจารณาคัดเลือกคนในอำเภอแม่เมาะเข้าทำงานเป็นลำดับแรก โดยต้องผ่านเกณฑ์เบื้องต้นของ กฟผ.
7.

ประเด็น: ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากประชากรแฝงในระยะก่อสร้างโครงการ

ข้อชี้แจง: บริษัทที่ปรึกษารับไว้ศึกษาและกำหนดมาตรการเพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากผู้รับเหมาไม่ดำเนินการแก้ไข ให้ กฟผ.ดำเนินการตามบทปรับและบทลงโทษตามเงื่อนไขสัญญาที่กำหนด

8.

ประเด็น: ผลักดันการออกเอกสารสิทธิ์/ปัญหาพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินทับซ้อนกับพื้นที่ป่า

ข้อชี้แจง: หมู่บ้านที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) โดยมีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ

  • นอกจากนี้พื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สำรวจของ คทช. และมีความจำเป็นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย กฟผ. จะเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล และ อปท. จะเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่า ตามมาตรา 19ทวิ หรือมาตราอื่น ที่เกี่ยวข้อง
  • พื้นที่รองรับการอพยพของหมู่บ้านอพยพ กฟผ. จะช่วยสนับสนุนและผลักดันการดำเนินการของหน่วยงานราชการเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ตามขั้นตอนและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
9.

ประเด็น: ขอให้สนันสนุนการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่อพยพ

ข้อชี้แจง: ตามมติ ครม. วันที่ 30 เมษายน .. 2562  ระบุไว้ว่าหากในอนาคต ราษฎรในพื้นที่ตำบลบ้านดง ตำบลนาสัก ตำบลจางเหนือ ตำบลแม่เมาะ และตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ประกาศกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เกิดปัญหาหรือความเดือดร้อนที่เกี่ยวข้องกับการอพยพราษฎรจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าแม่เมาะให้ กฟผ. ใช้งบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนดังกล่าว โดย กฟผ. จะประสานในรายละเอียดต่อไป

10.

ประเด็น: ส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎรที่ถูกอพยพ

ข้อชี้แจง: กฟผ. ยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมการอบรมส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎร รายละเอียดตามที่จะได้หารือในขั้นต่อไป โดยใช้งบประมาณด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชา

11.

ประเด็น: ขอสนับสนุนงบประมาณต่าง เพิ่มเติม

ข้อชี้แจง: กฟผ. ได้ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณแล้วตามรายละเอียดดังนี้

  • ด้านประเพณีและวัฒนธรรม หมู่บ้านละ 50,000 บาท หากชุมชนมีความจำเป็นต้องใช้เพิ่มเติมจะจัดสรรจากงบด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชา
  • ด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชา ตำบลละ 5,000,000 บาท (ยกเว้นตำบลบ้านดง ได้รับ 500,000 บาท)
  • ตำบลบ้านดงได้รับค่าชดเชยระหว่างรอการจัดสรรค่าภาคหลวง 20 ล้านบาท
12.

ประเด็น: ปัญหาดินสไลด์ที่เกิดขึ้นได้มีการแก้ไขปัญหาหรือมีมาตรการอย่างไร

ข้อชี้แจง: กรณีดินสไลด์นั้นหลังจากการพังทลายของที่ทิ้งดิน กฟผ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาโดยบริษัทจีเอ็มที คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมกับบริษัท PELLS SULLIVAN MEYNINK เพื่อค้นหาสาเหตุของการพังทลายในครั้งนี้ ซึ่งที่ปรึกษาได้เข้ามาสำรวจในพื้นที่และศึกษาหาข้อมูล สรุปได้ว่า เป็นปัญหาเฉพาะจุดในบริเวณนี้ 

  • ปัจจุบันได้มีการวางแผนแก้ไขและป้องกันที่ทิ้งดินสไลด์ตามข้อแนะนำของที่ปรึกษาคือ

1. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการเคลื่อนตัวของที่ทิ้งดินด้วยหมุดตรวจวัดระบบดาวเทียม  (GNSS)

2. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดการเคลื่อนตัวใต้ผิวดิน  (Inclinometer)

3. เจาะเก็บตัวอย่างดินมาทดสอบหาค่าความแข็งแรงทางวิศวกรรมธรณี

4. จัดการระบบระบายน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในพื้นที่

5. ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดระดับแรงดันน้ำในที่ทิ้งดิน

6. เจาะติดตั้งหลุมระบายน้ำออกจากที่ทิ้งดิน

  • นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะนำเอาเทคนิคการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของที่ทิ้งดินโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม (InSAR)
    มาประกอบในการประมวลผล ซึ่งจะทำให้มีความรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้นในการตรวจสอบเสถียรภาพของที่ทิ้งดิน
  • จัดทำระบบแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุ
13.

ประเด็น: ขอให้ทบทวนการแบ่งเขตพื้นที่การปกครอง เพื่อให้ตำบลสบป้าดอยู่ในเขตประทานบัตร

ข้อชี้แจง: การแบ่งเขตพื้นที่การปกครองเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนแนวเขตการปกครองจะต้องเสนอเรื่องให้กระทรวงมหาดไทย ซึ่ง กฟผ. ไม่มีอำนาจในเรื่องดังกล่าว

14.

ประเด็น: ขอให้สนับสนุนการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

ข้อชี้แจง: ชุมชนสามารถเสนอโครงการเพื่อใช้งบประมาณด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชาไม่เกิน 5 ล้านบาทได้ ผ่านการประชาคมของหมู่บ้าน อย่างไรก็ตามการก่อสร้างหรือปรับปรุงซ่อมใด ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเป็นต้องขออนุญาตจากกรมป่าไม้ให้แล้วเสร็จก่อนจึงสามารถดำเนินการได้

15.

ประเด็น: ขอให้สนับสนุนการขุดลอกลำน้ำจาง

ข้อชี้แจง: ปัจจุบันอำเภอแม่ทะและจังหวัดลำปางได้รับทราบปัญหาลำน้ำจางแล้ว และจะมีการจัดตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาลำน้ำจางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวซึ่ง กฟผ. จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่อไป

16.

ประเด็น: ขอลดค่าไฟฟ้า/ขอใช้ไฟฟ้าฟรี

ข้อชี้แจง: ค่าไฟฟ้ามีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้กำหนดและใช้เป็นราคาเดียวกันทั่วประเทศ ไม่สามารถเพิ่มหรือลดค่าไฟฟ้าสำหรับพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ อย่างไรก็ตาม กฟผ. ยินดีดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลหากมีการเปลี่ยนแปลง

17.

ประเด็น: ขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม/การปลดย้ายคนงาน/ให้คนแม่เมาะมีสิทธิ์ในการประมูลงานเป็นอันดับแรก

ข้อชี้แจง: กฟผ. รับไว้พิจารณาเพื่อศึกษาแนวทางที่สามารถปฏิบัติได้และมีความเหมาะสม

18.

ประเด็น: การรับบุคคลที่มีคดีความเข้าทำงาน

ข้อชี้แจง: การรับพนักงาน กฟผ. ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
.. 2518 สำหรับลูกจ้างบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการจ้างงานของบริษัทฯ นั้น

19.

ประเด็น: ขอสนับสนุนการสร้างอาชีพให้ชุมชน

ข้อชี้แจง: กฟผ. ยินดีที่จะร่วมสนับสนุนและบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพอำเภอแม่เมาะให้เกิดความยั่งยืน

20.

ประเด็น: ขอสนับสนุนน้ำดื่มให้ประชาชน

ข้อชี้แจง: ในช่วงฤดูแล้ง กฟผ. มีรถน้ำส่งให้ประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว แต่หากประชาชนต้องการความยั่งยืนด้านน้ำใช้ สามารถเสนอโครงการเพื่อใช้งบประมาณด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชาไม่เกิน 5 ล้านบาท ได้ ผ่านการประชาคมของหมู่บ้าน

21.

ประเด็น: ขอสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ตำบลสบป้าด

ข้อชี้แจง: การจัดการขยะเป็นความรับผิดชอบของ อปท. โดยตรง อย่างไรก็ตาม ชุมชนสามารถเสนอโครงการจากกองทุนพัฒนาโรงไฟฟ้า หรืองบประมาณด้านสาธารณูปโภคและศาสตร์พระราชา 5 ล้านบาท ของ กฟผ.

22.

ประเด็น: ขอให้แก้ไขปัญหาเรื่องไฟดับไฟตกในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ

ข้อชี้แจง: ปัญหาไฟฟ้าดับได้มีการดำเนินการแก้ไข ดังนี้

  • กฟผ. แม่เมาะ ดำเนินการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าสำหรับส่งจ่าย กระแสไฟฟ้า เพื่อใช้ภายในอำเภอแม่เมาะ สถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 2 บริเวณด่านห้วยทราย
  • ในส่วนของ กฟภ. ได้ดำเนินการปักเสาปูนและเดินสายไฟ เพื่อรับกระแสไฟจากหม้อแปลง ไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าในอำเภอแม่เมาะ โดยมีการจ่ายไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน .. 2561 ซึ่งปัจจุบัน กฟภ. ได้ดำเนินการลากสายเพื่อปรับปรุงระบบเพิ่มเติม
23.

ประเด็น: ขอให้ กฟผ. จัดส่งน้ำดิบโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายให้กับบ้านปงชัย

ข้อชี้แจง: กฟผ. ได้ติดตั้งระบบจัดส่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาให้กับหมู่บ้านห้วยคิง บ้านหางฮุง บ้านห้วยเป็ด และบ้านเมาะสถานี เนื่องจากหมู่บ้านดังกล่าวมีน้ำ ข้อชี้แจง: ทิ้งจากกิจกรรมการทำเหมืองไหลผ่าน มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านน้ำใต้ดินตามเงื่อนไขแนบท้ายรายงาน EIA โครงการเหมืองแร่ลิกไนต์จึงกำหนดให้ กฟผ. จัดส่งน้ำดิบให้กับหมู่บ้านท้ายน้ำ สำหรับบ้านปงชัย ถึงแม้ไม่มีน้ำทิ้งจากกิจกรรมการทำเหมืองไหลผ่าน กฟผ. ได้จัดส่งน้ำดิบให้ใช้ฟรีในอัตรา 120 ลิตร/คน/วัน เพิ่มจากเดิมจำนวน 100 ลิตร/คน/วัน  โดยคิดจากฐานข้อมูลประชากรในปี .. 2560 บวกเพิ่มผู้เช่าจากต่างถิ่นอีกหมู่บ้านละ 50 หลังคาเรือน
ส่วนที่ใช้เกินจากอัตราที่กำหนดจึงจะคิดในอัตรา 2.19 บาท/หน่วย ซึ่งเป็นเกณฑ์เดียวกันกับทุกหมู่บ้านตามที่ได้ตกลงกันไว้

24.

ประเด็น: ข้อห่วงกังวลต่าง ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ กฟผ.

ข้อชี้แจง: กฟผ. ยินดีรับฟังข้อห่วงกังวลของประชาชนและรับดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน ส่วนการพัฒนาต่าง ในพื้นที่ กรณีที่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่แล้ว ทาง กฟผ. ยินดีเข้าไปประสานงานกับหน่วยงานเหล่านั้น และยินดีให้การสนับสนุนตามที่หน่วยงานเหล่านั้นร้องขอตามความเหมาะสม

25.

ประเด็น: เรื่องที่ กฟผ. ไม่สามารถดำเนินการได้

ข้อชี้แจง: กรณีเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่ กฟผ. จะดำเนินการได้ กฟผ. จะนำเรื่องหารือในคณะกรรมการร่วมติดตามตรวจสอบการดำเนินงานและพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน กฟผ.แม่เมาะ ระดับอำเภอ ก่อนส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมต่อไป

 

สรุปผลจากแบบสำรวจความคิดเห็นต่อการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2

 

สรุปผลการสัมภาษณ์รายบุคคล